ซีเนอร์ไดโอด (Zener Diode)
1. โครงสร้างและสัญลักษณ์ของซีเนอร์ไดโอด
ซีเนอร์ไดโอด (Zener Diode) เป็นไดโอดชนิดพิเศษที่สร้างขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่รักษาแรงดันให้คงที่ มีโครงสร้างเหมือนไดโอดธรรมดาทั่วๆ ไป แต่ไดโอดธรรมดาทั่วไปเมื่อทำการไบอัสกลับจนถึงค่าแรงดันเบรกดาวน์จะทำให้เกิดการเสียหายได้ ซีเนอร์ไดโอดเป็นไดโอดที่ผลิตจากสารซิลิกอนที่มีปริมาณความหนาแน่นของสารเจือปนในส่วนทั้งสองของสารพีและเอ็นมีค่าสูงกว่าปกติ ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวจะทำให้ค่าแรงดันเบรกดาวน์สูง และค่าแรงดันเบรกดาวน์หรือแรงดันซีเนอร์สามารถกำหนดได้ด้วยการควบคุมความหนาแน่นของสารเจือปนและเมื่อให้ไบอัสกลับจะสามารถทนกระแสย้อนกลับได้สูงโดยไดโอดไม่เสียหาย แรงดันที่ตกค่อมตัวซีเนอร์ไดโอดจะเป็นตัวควบคุมและรักษาแรงดันให้คงที่
รูปที่ 1 แสดงโครงสร้างและสัญลักษณ์ของซีเนอร์ไดโอด
รูปที่ 2 แสดงกราฟลักษณะสมบัติทางไฟฟ้าของซีเนอร์ไดโอด
การพังทลายของซีเนอร์ไดโอดแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ การพังทลายแบบอะวาเลนซ์ (Avalanche) คือเมื่อไดโอดได้รับไบอัสกลับแรงดันสูงสุดจนทำให้มีกระแสไหลย้อนกลับผ่านไดโอดจำนวนมากทำให้รอยต่อของไดโอดทะลุและใช้งานไม่ได้ การพังทลายอีกแบบหนึ่งคือ การพังทลายแบบซีเนอร์ เป็นการพังทลายที่เกิดขึ้นกับแรงดันไบอัสกลับค่าต่ำๆ ซึ่งกำหนดได้จากการโด๊ปสารกึ่งตัวนำที่ใช้ผลิตซีเนอร์ไดโอด การพังทลายแบบซีเนอร์นี้จะมีกระแสไหลผ่านซีเนอร์ไดโอดจำนวนหนึ่ง ซึ่งต้องจำกัดไม่ให้เกินค่าพิกัดสูงสุดและจะเกิดสภาวะที่แรงดันตกคร่อมซีเนอร์ไดโอดมีค่าคงที่เรียกว่า แรงดันซีเนอร์ คุณสมบัติข้อนี้สามารถนำซีเนอร์ไดโอดไปเป็นวงจรควบคุมแรงดันไฟตรงให้คงที่ได้
3. คุณลักษณะของการพังทลาย
จากกราฟคุณสมบัติทางไฟฟ้าขอแรงดันและกระแสดังรูปที่ 3 VZ เป็นแรงดันเบรกดาวน์หรือแรงดันซีเนอร์ ในการพังทลายของซีเนอร์ไดโอดเมื่อได้รับไบอัสกลับ เมื่อเพิ่มแรงดันไบอัสกลับจนถึงค่าแรงดันซีเนอร์จะมีกระแสไหลผ่านซีเนอร์ไดโอดมากขึ้น ที่จุดเอียงของกราฟจะมีกระแสไหลผ่านซีเนอร์ไดโอดเท่ากับ IZ (knee current) ซึ่งเป็นกระแสบริเวณเส้นโค้งดังรูปที่ 3 และถ้าซีเนอร์ไดโอดได้รับแรงดันย้อนกลับสูงขึ้นอีก กระแสจะเพิ่มขึ้นแต่แรงดันซีเนอร์จะคงที่ แต่ถ้าเพิ่มกระแสเกินกว่าค่ากระแสซีเนอร์สูงสุด IZm(maximum current) แรงดันซีเนอร์จะไม่คงที่และชำรุดได้
รูปที่ 3 กราฟแสดงลักษณะสมบัติทางไฟฟ้าของซีเนอร์ไดโอดเมื่อได้รับไบอัสกลับ
ดังนั้นการนำซีเนอร์ไดโอดไปใช้งานในการควบคุมให้แรงดันไฟตรงคงที่นั้น จึงต้องออกแบบวงจรควบคุมให้มีกระแสไหลผ่านซีเนอร์ไดโอดอยู่ระหว่างค่ากระแสบริเวณเส้นโค้ง IZK ถึงค่ากระแสสูงสุด IZM สำหรับกระแส Izt หมายถึง ค่ากระแสทดสอบที่แรงดันซีเนอร์ซึ่งเป็นค่ากระแสตามค่าที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ในตารางคุณสมบัติของซีเนอร์ที่ใช้งานทั่วไป
4. วงจรสมมูลของซีเนอร์ไดโอด
เนื่องจากซีเนอร์ไดโอดมีคุณสมบัติรักษาแรงดันคงที่เมื่อได้รับไบอัสกลับ ในทางอุดมคติ
ซีเนอร์ไดโอดจึงมีวงจรเทียบเท่าหรือวงจรสมมูลเป็นแบตเตอรี่มีขนาดแรงดันไฟตรงเท่ากับแรงดันซีเนอร์ไดโอด VZ (Zener Voltage) โดยมีขั้วบวกของ VZ อยู่ที่ขาแคโถดและขั้วลบอยู่ที่ขาแอโนด ดังรูปที่ 4 ก. แต่ในทางปฏิบัติจะมีค่าความต้านทานภายในรอยต่อ (RZ) ของซีเนอร์ไดโอดอยู่ด้วย วงจรสมมูลของซีเนอร์ไดโอดในทางปฏิบัติจึงเป็นดังรูปที่ 4 ข. ซึ่งค่าความต้านทานภายในของซีเนอร์ไดโอดนี้สามารถคำนวณหาได้จากสมการ 1
รูปที่ 4 วงจรสมมูลของซีเนอร์ไดโอด
5. ตารางคุณสมบัติของซีเนอร์ไดโอด
การที่จะนำซีเนอร์ไดโอดมาใช้งานจำเป็นจะต้องทราบพิกัดต่างๆ ของซีเนอร์ไดโอดเช่น แรงดันซีเนอร์, อัตราทนกำลังไฟสูงสุด ซึ่งสามารถศึกษาได้จากคู่มือดังแสดงในตาราง
เบอร์ | VBR (V) | IT (mA) | VRWM (V) | IR ( | IRMS (mA) | VRMS (V) |
1N6267A | 6.8 | 10 | 5.8 | 1000 | 143 | 10.5 |
1N6268A | 7.5 | 10 | 6.4 | 500 | 132 | 11.3 |
1N6269A | 8.2 | 10 | 6.02 | 200 | 124 | 12.1 |
1N6270A | 9.1 | 1 | 6.78 | 50 | 112 | 13.4 |
1N6271A | 10 | 1 | 8.55 | 10 | 103 | 14.5 |
1N6272A | 11 | 1 | 9.4 | 5 | 96 | 15.6 |
1N6273A | 12 | 1 | 10.2 | 5 | 90 | 16.7 |
1N6274A | 13 | 1 | 11.1 | 5 | 82 | 18.2 |
1N6275A | 15 | 1 | 12.8 | 5 | 71 | 21.2 |
VBR (V) หมายถึง แรงดัน Breakdown Voltage
IS (A) หมายถึง กระแสที่ไหลผ่านซีเนอร์ไดโอดขณะที่มี RS
VRM (V) หมายถึง แรงดันย้อนกลับสูงสุด
IR (
A) หมายถึง กระแสรั่วไหลสูงสุด
IRMS (A) หมายถึง กระแสไหลย้อนกลับไม่คงที่
VRMS (V) หมายถึง แรงดันย้อนกลับสูงสุด
6. การใช้งานซีเนอร์ไดโอด
ซีเนอร์ไดโอดนำไปใช้งานหลายอย่างเช่น วงจรคลิป (Clipping Circuit) วงจรรักษาแรงดันให้คงที่ (Voltage Regulator Circuit) โดยเฉพาะในวงจรรักษาแรงดันให้คงที่ ดังรูปที่ 5 ในการต่อใช้งานทุกครั้งจะต้องมีความต้านทานต่ออนุกรมเสมอ เพื่อป้องกันกระแสไหลผ่านซีเนอร์ไดโอด (IZ) เกินค่าพิกัดซึ่งจะทำให้ชำรุดได้และตัวต้านทานที่ใช้จะต้องมีการคำนวณหาค่าความต้านทานที่เหมาะสมวงจรจึงจะทำงานได้ดี
รูปที่ 5 วงจรรักษาแรงดันให้คงที่
การควบคุมแรงดันให้คงที่ด้วยซีเนอร์ไดโอด
1. การควบคุมแรงดันให้คงที่ด้วยซีเนอร์ไดโอด
วงจรแหล่งจ่ายกำลังไฟเบื้องต้นประกอบไปด้วยหม้อแปลง ไดโอดเรียงกระแสและตัวเก็บประจุกรองแรงดัน มีข้อดีคือ การประกอบใช้งานง่ายแต่มีข้อเสียคือ แรงดันไฟตรงที่ได้จะยังไม่เรียบมีการกระเพื่อมหรือริปเปิล (Ripple) สูงและอัตราการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของแรงดันเมื่อมีโหลดและไม่มีโหลดซึ่งเรียกว่าวงจร โวลต์เตจเร็กกูเลชั่น (Voltage Regulation) สูง ไม่เหมาะสำหรับเป็นภาคจ่ายไฟให้วงจรขยายสัญญาณระดับต่ำ เช่น ปรีแอมป์ การลดริปเปิลของภาคจ่ายไฟลงนิยมใช้วงจรกรองกระแสแบบอาร์ซี (RC Filter) แต่ก็ยังมีโวลต์เตจเร็กกูเลชั่นสูง
อยู่ ดังนั้นวงจรซีเนอร์ไดโอดโวลต์เตจเร็กกูเลเตอร์จึงถูกนำมาใช้ในวงจรจ่ายไฟกำลังต่ำ เพื่อขจัดปัญหาเกี่ยวกับริปเปิลและโวลต์เตจเร็กกูเลชั่น
การนำซีเนอร์ไดโอดมาใช้ในวงจรจ่ายไฟกำลังต่ำกระทำได้โดยต่อซีเนอร์ไดโอดอนุกรมกับตัวต้านทานแล้วนำไปต่อกับเอาท์พุทของวงจรจ่ายไฟเบื้องต้น ส่วนแรงดันเอาท์
พุทของวงจรคือแรงดันตกคร่อมซีเนอร์ไดโอดดังรูป 1
รูปที่ 1
ตัวต้านทานที่นำมาต่ออนุกรมกับซีเนอร์ไดโอดจะต้องมีค่ามากพอที่จะจำกัดกระแสไม่ให้ไหลผ่านซีเนอร์ไดโอดในขณะไม่มีโหลดเกินค่ากระแสสูงสุด (Izm) ที่ซีเนอร์จะทนได้ การต่อซีเนอร์ไดโอดจะต่อในลักษณะไบอัสกลับและแรงดันเอาท์พุทจะมีค่าเท่ากับแรงดันของซีเนอร์ไดโอด
2. การออกแบบวงจรซีเนอร์ไดโอด
การเร็กกูเลเตอร์โดยการใช้ซีเนอร์ไดโอดจะเหมาะสำหรับโหลดหรือวงจรที่กินกระแสไม่มากนัก เพราะถ้าโหลดต้องการกระแสมาก จะสิ้นเปลืองกว่าการเร็กกูเลเตอร์แบบอื่นๆ การออกแบบวงจรจะต้องคำนึงถึงสภาวะสองสภาวะ คือ สภาวะมีโหลดและสภาวะไม่มีโหลด ดังตัวอย่างการออกแบบดังต่อไปนี้ สมมุติว่าวงจรปรีแอมป์ต้องการไฟตรง 9 V/15 mA ให้ออกแบบวงจรดังรูปที่ 2 ให้เหมาะสมต่อการใช้งาน มีหลักการในการออกแบบดังนี้
รูปที่ 2
กระแสที่ไหลผ่านซีเนอร์ไดโอดควรมีค่า
0.1 IL max แต่ไม่ควรต่ำกว่า 5 mA
IZ = 5 mA
จะได้กระแสที่ไหลผ่านตัวต้านทาน RS จาก
IS = 5 mA + 15 mA = 20 mA
คำนวณหาแรงดันที่ตกคร่อม C1
จากสูตร VC1 = Vrms x
= 12 V x 1.414 = 16.968 V
คำนวณหาค่าตัวต้านทาน RS
จากสูตร RS =
=
= 398.4 Ω เลือกใช้ 390 Ω
คำนวณหากำลังวัตต์ของซีเนอร์ไดโอด
PZ = VZ x IZM = 9 V x 20 mA = 180 mW เลือกใช้ขนาด 9 V / 1/4 W
คำนวณหากำลังวัตต์ของตัวต้านทาน RS
PRS = VRS x IS = ( 16.968 V – 9 V ) x 20 mA = 159.36 W ใช้ขนาด 1/4 W
คำนวณหาค่าความต้านทานโหลดเมื่อกระแสไหลผ่านโหลด 15 mA
RL =
=
= 531.2 Ω เลือกใช้ 560 Ω / 1/4 W
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น