ไอซีเร็กกูเลเตอร์ (IC Regulator)
1. เร็กกูเลเตอร์แบบขนาน (Shunt Regulator)
การทำงานของวงจรเร็กกูเลเตอร์แบบขนานดังรูปที่ 1 โดยมีแรงดันอินพุท VIN จ่ายให้กับวงจร มีตัวต้านทาน RS ทำหน้าที่ในการจำกัดกระแสที่จะไหลผ่านวงจรทั้งหมด ตัวต้านทานที่ปรับค่าได้ RP จะทำการปรับค่าเองโดยอัตโนมัติเพื่อให้แรงดันที่เอาท์พุทคงที่ตลอด สมการของแรงดันเอาท์พุท VO = VIN – RS (IO + IP)
รูปที่ 1 แสดงแผนผังการทำงานของเร็กกูเลเตอร์แบบขนาน
ตัวอย่างของวงจรประเภทนี้ได้แก่วงจรเร็กกูเลเตอร์ที่ใช้ตัวต้านทานต่อกับซีเนอร์ไดโอด ซึ่ง RP ในที่นี้ก็คือซีเนอร์ไดโอดนั่นเอง
หลักการทำงานของเร็กกูเลเตอร์แบบอนุกรมนี้ แสดงในรูปที่ 2 โดยมีการจ่ายแรงดันที่ยังไม่ได้มีการเร็กกูเลทไปยัง RP โดย RP จะปรับค่าความต้านทานของตัวเองได้อัตโนมัติ ทำให้เกิดแรงดันตกคร่อมที่ RP ค่าหนึ่ง จะได้แรงดันเอาท์พุทเท่ากับ แรงดันอินพุทลบด้วยแรงดันตกคร่อมในตัวเร็กกูเลเตอร์ ซึ่งผลของการปรับค่า RP ที่ถูกต้อง ก็จะทำให้ได้แรงดันเอาท์พุทตามที่ต้องการ และจากหลักการทำงานของเร็กกูเลเตอร์ชนิดนี้เองที่ได้นำมาประยุกต์ทำเป็นไอซีเร็กกูเลเตอร์เบอร์ต่างๆ ทั้งเบอร์ 78XX เบอร์ 79XX และอื่นๆ อีก
รูปที่ 2 แสดงแผนผังการทำงานของเร็กกูเลเตอร์แบบอนุกรม
3. แผนผังวงจรพื้นฐานของเร็กกูเลเตอร์แบบอนุกรม
แผนผังวงจรพื้นฐานของเร็กกูเลเตอร์ชนิดนี้ สามารถแบ่งออกได้ 3 ภาค ดังแสดงในรูปที่ 3 ประกอบไปด้วย
1. วงจรแรงดันอ้างอิง (Voltage Referent) ซึ่งเป็นส่วนที่เป็นอิสระต่อทั้งอุณหภูมิและแรงดันที่จ่ายให้กับเร็กกูเลเตอร์
2. วงจรขยายความผิดพลาด (Error Amplifier) ทำหน้าที่คอยเปรียบเทียบแรงดัน ระหว่างแรงดันอ้างอิงและสัดส่วนของแรงดันเอาท์พุท ที่ป้อนกลับมาที่ขาอินเวอร์ติ้งของออปแอมป์
3. ซีรีส์พาสทรานซิสเตอร์ (Series Transistor) ทำหน้าที่จ่ายกระแสเอาท์พุทให้เพียงพอกับความต้องการองโหลด
เมื่อป้อนแรงดันอินพุทให้กับไอซีเร็กกูเลเตอร์ แรงดันเอาท์พุทจะถูกป้อนมายังอินพุทโดย R1 และ R2 ทำหน้าที่เป็นวงจรแบ่งแรงดัน ซึ่งแรงดันที่ตกคร่อม R2 จะเป็นสัดส่วนกับแรงดันที่เอาท์พุท วงจรขยายความผิดพลาดจะทำหน้าที่รักษาสัดส่วนของแรงดันอ้างอิงกับแรงดันที่ตกคร่อม R2 ให้เท่ากัน
ถ้าแรงดัน VR2 มากกว่า VREF วงจรขยายความผิดพลาดจะลดระดับการขยายสัญญาณเอาท์พุท ทำให้ทรานซิสเตอร์จ่ายกระแสลดลงเป็นผลให้แรงดันเอาท์พุทที่จ่ายให้โหลดลดลงด้วย
ถ้าแรงดัน VR2 น้อยกว่า VREF วงจรขยายความผิดพลาดจะเพิ่มระดับการขยายสัญญาณเอาท์พุท ทำให้ทรานซิสเตอร์จ่ายกระแสเพิ่มขึ้น เป็นผลให้แรงดันเอาท์พุทที่จ่ายให้โหลดเพิ่มขึ้นด้วย
รูปที่ 3 แสดงแผนผังวงจรพื้นฐานของเร็กกูเลเตอร์แบบอนุกรม
4. ไอซีเร็กกูเลเตอร์สามขาชนิดจ่ายแรงดันคงที่
ไอซีเร็กกูเลเตอร์ภายในประกอบด้วยวงจรเร็กกูเลเตอร์แบบอนุกรม มีขาต่อใช้งาน 3 ขา ประกอบด้วยขา อินพุท เอาท์พุท และกราวด์ ซึ่งจะจ่ายแรงดันค่าใดค่าหนึ่งโดยเฉพาะ โดยรวมเอาส่วนของวงจรป้อนกลับที่ประกอบด้วย R1 และ R2 ดังรูปที่ 3 เข้าไว้เป็นส่วนหนึ่งของไอซี ซึ่งจุดนี้นี่เองที่แตกต่างไปจากไอซีเร็กกูเลเตอร์ที่ปรับค่าได้
รูปที่ 4 แสดงการต่อไอซีเร็กกูเลตอร์ใช้งานแบบง่ายๆ
จุดเด่นของไอซีเร็กกูเลเตอร์ค่าคงที่นี้คือ สามารถต่อวงจรได้ง่ายไม่ต้องต่ออุปกรณ์ภายนอกเพิ่มเติมมากนัก ตัวอย่างวงจรการใช้งาน ดังแสดงในรูปที่ 4 ในการต่อวงจรบางครั้งจำเป็นต้องต่อไอซีเร็กกูเลเตอร์ห่างจากแหล่งจ่ายไฟอินพุทเกิน 5 เซนติเมตร จึงควรใส่ตัวเก็บประจุอิเล็กทรอไลต์ ขนาดประมาณ 10 ไมโครฟารัด สักตัวไว้ด้านอินพุท เพื่อป้องกันการเกิดออสซิลเลตที่ความถี่สูง ซึ่งจะทำให้วงจรขาดเสถียรภาพ เอาท์พุทที่ออกจากไอซีเร็กกูเลเตอร์ จะได้แรงดันเอาท์พุทที่เรียบพอสมควรอยู่แล้ว แต่อาจจะใส่ตัวเก็บประจุที่มีค่าประมาณ 100 ไมโครฟารัด เพื่อช่วยปรับปรุงแรงดันให้เรียบขึ้น ถึงแม้ว่าแรงดันไอซีเร็กกูเลเตอร์ชนิดนี้จะให้แรงดันเอาท์พุทคงที่ มีเบอร์ให้เลือกแรงดันเอาท์พุทได้คงที่หลายเบอร์เช่น 5 V, 5.2 V, 6V, 8V, 10V, 12V, 15V, 18V และ 24V กระแสเอาท์พุทตั้งแต่ 10 มิลลิแอมป์ถึง 3 แอมป์ และมีให้เลือกทั้งชนิดเร็กกูเลเตอร์ไฟบวกและเร็กกูเลเตอร์ไฟลบ
รูปที่ 5 แสดงตำแหน่งขาของ IC Regulator เบอร์ 78xx และ 79xx
ตารางสรุปรวมเบอร์ไอซีเร็กกูเลเตอร์
เบอร์ | แรงดันเอาท์พุท | อุณหภูมิรอยต่อ* | กระแสเอาท์พุทสูงสุด(mA) | กระแสสูงสุดเมื่อมีโหลด(mA) | แรงดันอินพุท | แรงะดันตกคร่อม |
เร็กกูเลเตอร์กระแสบวกคงที่ 100 mA | ||||||
78L26 | 2.6 | C | 100 | 50 | 4.8 to 35 | 2.2 |
78L05 | 5.0 | C | 150 | 60 | 7.2 to 35 | 2.2 |
78L62 | 6.2 | C | 175 | 80 | 10.4 to 35 | 2.2 |
78L82 | 10.2 | C | 175 | 80 | 10.4 to 35 | 2.2 |
78L09 | 9.0 | C | 188 | 90 | 11.2 to 35 | 2.2 |
78L12 | 12 | C | 250 | 100 | 14.2 to 35 | 2.2 |
เร็กกูเลเตอร์กระแสบวกคงที่ 500 mA | ||||||
78M05 | 5.0 | M | 50 | 50 | 10.0 to 35 | 2.5 |
78M05 | 5.0 | C | 100 | 100 | 7.5 to 35 | 2.5 |
78M06 | 6.0 | M | 60 | 60 | 10.0 to 35 | 2.5 |
78M06 | 6.0 | C | 100 | 120 | 10.5 to 35 | 2.5 |
78M08 | 10.0 | M | 60 | 80 | 11 to 35 | 2.5 |
78M08 | 10.0 | C | 100 | 160 | 10.5 to 35 | 2.5 |
78M12 | 12 | M | 60 | 120 | 15 to 35 | 2.5 |
เร็กกูเลเตอร์กระแสลบ คงที่ 500 mA | ||||||
78M05 | -5.0 | M | 50 | 100 | -7.5 to -35 | 2.5 |
78M05 | -5.0 | C | 50 | 100 | -7.3 to -35 | 2.5 |
78M06 | -6.0 | M | 60 | 120 | -10.5 to -35 | 2.3 |
78M06 | -6.0 | C | 60 | 120 | -10.3 to -35 | 2.5 |
78M08 | -10.0 | M | 80 | 160 | -10.5 to -35 | 2.5 |
78M08 | -10.0 | C | 80 | 160 | -10.3 to -35 | 2.3 |
78M12 | -12 | M | 80 | 240 | 14.5 to -35 | 2.5 |
78M12 | -12 | C | 80 | 240 | -14.3 to -35 | 2.3 |
เร็กกูเลเตอร์กระแสบวกคงที่ 1.0A | ||||||
7805 | 5.0 | M | 50 | 50 | 10.0 to 35 | 3.0 |
7805 | 5.0 | C | 100 | 100 | 7.5 to 35 | 2.5 |
7806 | 6.0 | M | 60 | 60 | 9.0 to 35 | 3.0 |
7806 | 6.0 | C | 120 | 120 | 10.5 to 35 | 2.5 |
7808 | 10.0 | M | 80 | 80 | 11 to 35 | 3.0 |
7808 | 10.0 | C | 160 | 160 | 10.5 to 35 | 2.5 |
7812 | 12 | M | 120 | 120 | 15 to 35 | 3.0 |
เร็กกูเลเตอร์กระแสลบคงที่ 1.0A | ||||||
7905 | -5.0 | M | 50 | 50 | -7.8 to -35 | 2.8 |
7905 | -5.0 | C | 100 | 100 | -7.3 to -35 | 2.3 |
7906 | -6.0 | M | 60 | 60 | -10.8 to -35 | 2.8 |
7906 | -6.0 | C | 120 | 120 | -10.3 to -35 | 2.3 |
7908 | -10.0 | M | 80 | 80 | 10.8 to -35 | 2.8 |
7908 | -10.0 | C | 160 | 160 | 10.2 to -35 | 2.3 |
7912 | -12 | M | 120 | 120 | 14.8 to -35 | 2.8 |
เร็กกูเลเตอร์กระแสบวกคงที่ 3.0A | ||||||
LM123 | 5.0 | M | 25 | 100 | 7.5 to 20 | 2.5 |
LM223 | 5.0 | M | 25 | 100 | 7.5 to 20 | 2.5 |
* C = C To + C
M = C To + C
เป็นประโยชน์มากเลยครับ
ตอบลบ