ยูเจที (UJT)
1. โครงสร้างและสัญลักษณ์ของยูเจที
ยูเจที (UJT) ย่อมาจาก” ยูนิจังชั่น ทรานซิสเตอร์ Unijunction Transistor” เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำที่มีโครงสร้างเป็นสารกึ่งตัวนำชนิด N แท่งหนึ่งแล้วทำการต่อขั้วเข้าที่ปลายของสารกึ่งตัวนำนั้น จากนั้นนำแท่งสารกึ่งตัวนำชนิด P มาต่อให้เกิดรอยต่อที่บริเวณตรงกลางแท่งสารกึ่งตัวนำชนิด N ค่อนไปทางด้านบนเล็กน้อย ดังรูปที่ 1 ตรงรอยต่อสารกึ่งตัวนำชนิด N และสารกึ่งตัวนำชนิด P จะเสมือนกับเป็นไดโอดตัวหนึ่งและต่อขาออกจากปลายทั้งสามดังรูปที่ 1 โดยขาที่ต่อออกจากสารกึ่งตัวนำชนิด P จะเป็นขาอิมิตเตอร์ ส่วนขาที่ต่อออกจากแท่งสารกึ่งตัวนำชนิด N ที่ใกล้กับสารกึ่งตัวนำชนิด P เรียกว่าขา B1 และขา B2
รูปที่ 1 แสดงโครงสร้าง และสัญลักษณ์ของยูเจที
จากลักษณะโครงสร้างของยูเจทีตามรูปที่ 1 จะเห็นได้ว่าแท่งสารเอ็นจะมีขาเบส 1 และขาเบส 2 ต่ออยู่ จะ
เสมือนเป็นตัวต้านทานที่ต่ออยู่ โดยมีไดโอดที่เกิดจากรอยต่อ p-n ต่อระหว่างขาอิมิตเตอร์ กับบริเวณตรงกลางของตัวต้านทาน ดังนั้นลักษณะของวงจรสมมูลดังรูปที่ 2
รูปที่ 2 แสดงวงจรสมมูลของยูเจที
2. ลักษณะสมบัติของยูเจที
จากรูปที่ 3 เมื่อปรับตัวต้านทานให้เพิ่มแรงดันที่ขา E เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จะมีกระแสรั่วไหลเพียงเล็กน้อย เมื่อแรงดันที่ขา E เพิ่มขึ้นถึง VP จะทำให้ไดโอดได้รับไบอัสตรงจะทำให้มีกระแสไหลจากขา E ไปยังขา B1 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และในขณะเดียวกันแรงดันที่ขาอิมิตเตอร์ (VE) จะมีค่าลดลงอย่างรวดเร็วแรงดันนี้จะลดลงเรื่อยๆ จนถึงค่าต่ำสุด (VV) จากนั้นถ้าเพิ่มแรงดันที่ขา E เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจนถึงจุดอิ่มตัว (VE(sat)) และถ้าเพิ่มแรงดันสูงขึ้นอีกก็จะทำให้ยูเจทีพังทลายได้ ในทำนองเดียวกันถ้าให้แรงดัน VE มีค่าน้อยกว่าแรงดันที่จุดต่อ RB1และ RB2 ก็จะทำให้ยูเจทีไม่มีกระแสไหลอีกเช่นเคย
รูปที่ 3 แสดงวงจรใช้หากราฟลักษณะสมบัติของยูเจที
รูปที่ 4 แสดงกราฟลักษณะสมบัติของยูเจที
RBB = ความต้านทานภายใน UJT ระหว่างขา B1-B2(RBB=RB1+RB2) ประมาณ 4K-10K
VBB = แรงดันที่จ่ายให้ขา B2และB1
Ŋ = อัตราส่วนอินทรินซิก สแตนออฟ มีค่าอยู่ระหว่าง 0.5 - 0.75
VE = เป็นแรงดันป้อนให้ขา E จนทำให้ไดโอดนำกระแส
VD = เป็นแรงดันที่ตกคร่อมไดโอด มีค่าประมาณ 0.6 - 0.7 V
IE = ค่ากระแสไบอัสกลับที่ขา E และขา B2 โดย B1 เปิดวงจร
IE = กระแสที่ขา E ของยูเจที มีค่าไม่เกิน 50mA PEAK
VV = เป็นแรงดันต่ำสุด(Volley Point) ระหว่างขา E กับ B1
IV = คือค่ากระแสที่ไหลในขณะที่แรงดันที่ขา E มีค่าต่ำสุด (VV)
IP = คือค่ากระแสที่ขา E ในขณะแรงดันมีค่า VP
3. วงจรกำเนิดสัญญาณ Relaxation โดยใช้ยูเจที
รูปที่ 5 แสดงวงจร Relaxation ออสซิลเลเตอร์
รูปที่ 6 แสดงไดอะแกรมเวลาแสดงการทำงานของวงจร Relaxation ออสซิสเลเตอร์
การทำงานของวงจร เริ่มแรกตัวเก็บประจุ C1 จะทำการประจุแรงดันผ่าน R1 จนมีค่าแรงดันสูงขึ้นซึ่งแรงดันที่ตกคร่อมตัวเก็บประจุ C1 นี้จะเป็นแรงดันป้อนให้ขา E (VE) เมื่อแรงดันที่ขาE นี้มีค่าเท่ากับ VP(VP=VD+ ŊVBB ) จะทำให้ไดโอดนำกระแส ความต้านทานระหว่างขา Eกับขา B1 ลดลงอย่างรวดเร็วมีกระแสไหลผ่าน มีแรงดันตกคร่อม R2 สูงขึ้นตกคร่อม R3ต่ำสูงในช่วงเวลานี้ตัวเก็บประจุ C 1จะคายประจุผ่านขา E ออกขา B1 ด้วย ทำให้แรงดันที่ขาE ค่าลดลงจนทำให้ยูเจที หยุดนำกระแส ความต้านทานขา E และขา B1 มีค่าสูงขึ้นอีก ก็จะเริ่มการประจุใหม่และยูเจที ก็จะเริ่มรอบการทำงานใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยจะได้สัญญาณที่ขาต่างๆ ดังแสดงในรูป 6 สามารถคำนวณหาคาบเวลาและความถี่ได้จากสูตร
t1 = RC ln [(VBB-VV)/(VBB-VP)] (เวลาในCharge ของ C1)
t2 = (RB1+RB2)C ln (VP/VV) (เวลาใน Discharge ของ C1)
จาก T = t1 + t2
และFosc= 1/T = 1/(t1 + t2)
หรือจะหาค่า Fosc โดยประมาณได้จาสูตร
Fosc = 1/RC ln[1/(1- )]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น