วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วงจรใช้งานของ scr

ข้อมูลของ เอสซีอาร์











ตัวอย่างการใช้งานพื้นฐานของเอสซีอาร์ในการควบคุมระบบไฟสลับ
รูปที่ 9 การใช้เอสซีอาร์ในการควบคุมระบบไฟสลับ เพื่อใช้ขับโหลดในลักษณะครึ่งคลื่น
ในรูปที่ 9 เป็นวงจรจ่ายแรงดันแบบครึ่งคลื่น เพื่อใช้ขับโหลดที่เป็นหลอดไฟขนาด 100 วัตต์ โดยใช้ไฟย้าน เมื่อสวิตช์ S1 เปิดออก จะไม่มีสัญญาณทริกให้แก่เกต ดังนั้นเอสซีอาร์และหลอดไฟจะไม่ทำงาน แต่เมื่อสวิตช์ S1 ถูกปิดลงในช่วงของครึ่งรูปคลื่นทางลบ เอสซีอาร์จะถูกไบแอสกลับ และสัญญาณที่จะไปทริกที่เกตุถูกกั้นไว้โดยไดโอด D1 ดังนั้นเอสซีอาร์จะไม่ทำงาน ส่วนในช่วงครึ่งรูปคลื่นทางบวก เอสซีอาร์และ D1 จะถูกไบแอสตรง ดังนั้น วงจรทั้งหมดจะทำงาน
แต่ก็ให้สังเกตว่าหลังจากที่เอสซีอาร์ทำงานได้เพียงชั่วขณะหนึ่ง แรงดันที่ขาแอโนดจะตกลงใกล้ศูนย์ นั่นคือไฟสลับกำลังจะเปลี่ยนเป็นครึ่งรูปคลื่นทางลบอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นการหยุดการทริกที่เกต เนื่องจากแรงดันที่เกตมีค่าต่ำเกินไปที่จะทริกได้ แต่เอสซีอาร์ก็จะยังคงสภาพการทำงานต่อไป จนกระทั่งกระแสแอโนดมีค่าต่ำกว่ากระแสโฮลดิ้งของมัน หลังจากนั้นเอสซีอาร์จะหยุดทำงาน และจะเริ่มทำงานใหม่ ในช่วงจังหวะของครึ่งรูปคลื่นทางบวกลูกต่อไป และเป็นเช่นนี้ต่อไปเรื่อย ๆ จะเห็นได้ว่าโหลดจะขับให้ทำงานเพียงครั้งรูปคลื่นเท่านั้น
การใช้เอสซีอาร์ในการควบคุมระบบไฟบ้านหรือไฟสลับนี้ สามารถนำไปใช้ขับโหลดในลักษณะเต็มรูปคลื่นได้เช่นกันดังวงจรในรูปที่ 10 และ 11 ซึ่งทำได้ 2 วิธีด้วยกัน ในวงจรดังกล่าวจะเห็นได้ว่าไฟสลับได้ถูกเปลี่ยนให้เป็นไฟตรงแบบเต็มคลื่นที่ไม่เรียบโดยใช้ไดโอด 4 ตัวต่อเป็นวงจรเรียงกระแสแบบบริดจ์ และนำไฟตรงที่ได้นี้ป้อนให้แก่เอสซีอาร์ เมื่อสวิตช์ S1 เปิดวงจรเอสซีอาร์จะไม่ทำงาน ดังนั้นจะไม่มีกระแสไหลผ่านวงจรบริดจ์และโหลดแต่เมื่อ S1 ถูกปิดวงจรลง เอสซีอาร์ก็จะถูกกระตุ้นให้ทำงาน เมื่อช่วงครึ่งรูปคลื่นแรกของไฟตรงที่ได้นั้นเข้ามา ในลักษณะนี้โหลดจะถูกขับด้วยลักษณะเต็มรูปคลื่น
รูปที่ 10 การใช้เอสซีอาร์เพื่อควบคุมระบบไฟสลับ และขับโหลดในลักษณะเต็มคลื่น
ในรูปที่ 10 จะเห็นว่า โหลดถูกนำไปต่ออยู่ ด้านที่เป็นไฟตรงของวงจรบริดจ์ และมีฟิวส์ต่ออยู่ด้านที่เป็นไฟสลับเพื่อป้องกันการลัดวงจรที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในวงจรนั้น แต่ในรูปที่ 11 โหลดจะถูกนำไปต่ออยู่ด้านที่เป็นไฟสลับแทนวงจรนี้ไม่จำเป็นต้องมีฟิวส ์เนื่องจากโหลดเอง จะทำหน้าที่เป็นตัวป้องกันกระแสเกินไปในตัว
รูปที่ 11 การดัดแปลงวงจรจากรูปที่ 10 โดยให้โหลดต่ออยู่ด้านไฟสลับของวงจรบริดจ์
เอสซีอาร์นี้ยังสามารถนำมาต่อขนานกันในลักษณะกลับขั้วกันได้ นั่นคือแอโนดชนแคโทด เพื่อนำไปใช้งานในการควบคุมให้สามารถขับโหลดได้ในลักษณะเต็มคลื่นโดย ที่ไม่ต้องใช้วงจรบริดจ์ แต่วิธีดังกล่าวนี้ไม่นิยมใช้เนื่องจากมีอุปกรณ์อีกชนิดหนึ่งที่มีลักษณะการทำงานตามต้องการนี้ได้นั่นคือ 
ไตรแอก




รูปคลื่นสัญญาณ







1 ความคิดเห็น:

  1. เข้าใจง่ายครับ ผมนั้งเขียนรายงานส่งจารย์ จากลิ้งค์นี้เลยครับ

    ตอบลบ