หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เอสซีอาร์ (SCR)

 เอสซีอาร์ (SCR)
1. โครงสร้างและสัญลักษณ์ของเอสซีอาร์
                เอสซีอาร์ (SCR) ชื่อเต็มคือ ซิลิคอน คอนโทรล เร็คติไฟร์เออร์ (Silicon Control Rectifier) เป็นอุปกรณ์โซลิดสเตท (Solid-State) ที่ทำหน้าที่เป็นสวิตช์เปิด  ปิด (On – Off ) วงจรทางอิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่ง อีกทั้งเอสซีอาร์ ยังจัดเป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำประเภท ไทริสเตอร์” (Thyristor) ข้อดีของสวิตช์อิเล็กทรอนิกส์คือจะไม่มีหน้าสัมผัสหรือเรียกว่าคอนแท็ค (Contact) ขณะปิด – เปิด จึงไม่ทำให้เกิดประกายไฟที่หน้าสัมผัสจึงมีความปลอดภัยสูงซึ่งสวิตช์ธรรมดาคือแบบกลไกที่มีหน้าสัมผัสจะไม่สามารถนำไปใช้ในบางสถานที่ได้ สวิตช์อิเล็กทรอนิกส์บางครั้งเรียกว่า โซลิดสเตทสวิตช์ (Solid State Switch)


รูปที่ 1 แสดงโครงสร้าง วงจรสมมูลและสัญลักษณ์ของเอสซีอาร์


                จากรูปที่ 1 ก. โครงสร้างของเอสซีอาร์ (SCR) ประกอบไปด้วยสารกึ่งตัวนำ 4 ชิ้นคือ พี  เอ็น  พี  เอ็น (P – N 
– P – N) มีจำนวน 3 รอยต่อ มีขาต่อออกมาใช้งาน 3 ขาคือ

1.       แอโนด (A : Anode)
2.       แคโทด (k : Cathode)
3.       เกต (G : Gate)

สภาวะการทำงานของเอสซีอาร์ (SCR) สามารถแบ่งการทำงานออกได้เป็น 2 สภาวะคือ
1.       สภาวะนำกระแส เรียกว่า ON
2.       สภาวะหยุดนำกระแส เรียกว่า OFF

2. สภาวะนำกระแสของเอสซีอาร์
                พิจารณารูปที่ 2 การที่จะทำให้เอสซีอาร์นำกระแสสามารถทำได้โดยจุดชนวน เรียกว่า ทริกเกอร์ (Trigger) ด้วยกระแสเกต (IG) ให้แก่เอสซีอาร์ (SCR) และที่ขั้วแอโนด (A) และแคโทด (K) ได้รับไบอัสตรงคือที่แอโนดได้แรงดันบวก (+) และที่แคโทดได้รับแรงดันลบ (-) ทำให้เกิดกระแส IB2 ไหลเข้าขาเบส (Base) ของทรานซิสเตอร์ TR2 ทำให้ TR2 อยู่ในสภาวะนำกระแส (ON) จะเกิดกระแสคอลเลคเตอร์ (IC2) ไหลผ่าน TR2 ซึ่งก็คือกระแส IB1  ของทรานซิสเตอร์ TR1 นั่นเอง ดังนั้น TR1 จึงนำกระแสด้วย ค่าความต้านทานระหว่างขั้วแอโนด (A) และแคโทด (K) จึงมีค่าต่ำมากเป็นผลให้เกิดกระแสแอโนด (IA) ไหลผ่านอีมิตเตอร์ของ TR1 ไปออกที่อีมิตเตอร์ของ TR2 สภาวะการทำงานของเอสซีอาร์เปรียบเสมือนสวิตช์ปิดวงจร 


รูปที่ 2 แสดงการจุดชนวนให้เอสซีอาร์นำกระแส


                เมื่อเอสซีอาร์นำกระแสแล้วไม่จำเป็นต้องคงค่ากระแสเกต (IG) ไว้ตลอดไป สามารถลดค่ากระแสเกตให้เป็นศูนย์ (IG = 0) หรือปลดกระแสเกตออกได้โดยที่เอสซีอาร์ยังคงนำกระแสต่อไปเพราะ IB2 ที่ไหลเข้าเบสของ TR2 จะไหลมาจากคอลเลคเตอร์ของ TR1 ดังนั้นถึงแม้จะไม่มีกระแสเกตเอสซีอาร์ก็ยังคงนำกระแสต่อไปได้
                ในสภาวะนำกระแสนี้ถ้าแหล่งจ่ายเป็นไฟกระแสสลับสามารถจะบังคับให้เอสซีอาร์นำกระแสได้มากหรือน้อยได้โดยเลือกมุมจุดชนวนที่เกตให้เหมาะสม

3. สภาวะหยุดนำกระแสของเอสซีอาร์
                วิธีการทำให้เอสซีอาร์หยุดนำกระแสมีหลักการคือ ทำให้กระแสแอโนด (IA) ลดลงจนต่ำกว่ากระแสโฮลดิ้ง (IH : Holding Current คือค่ากระแสต่ำสุดที่ทำให้เอสซีอาร์นำกระแส) หรือ     จึงจะทำให้เอสซีอาร์หยุดนำกระแสได้ซึ่งการที่จะทำให้เอสซีอาร์หยุดนำกระมี 2 วิธีคือ
                3.1 แอโนดเคอเรนท์อินเทอรัพชั่น (Anode Current Interruption)
                                โดยการตัดกระแส IA ไม่ให้ไหลผ่านแอโนดของเอสซีอาร์ วิธีง่ายๆ ดังรูปที่ 3 ก. โดยต่อสวิตช์อนุกรมแอโนด (A) ของเอสซีอาร์และเปิดสวิตช์เมื่อต้องการทำให้เอสซีอาร์หยุดทำงาน (Turn – Off) หรืออีกวิธีในรูปที่ 3 ข. โดยต่อสวิตช์ระหว่างขั้วแอโนดและแคโทดของเอสซีอาร์เป็นการเปลี่ยนทางเดินของกระแสแอโนด (IAไม่ให้ไหลผ่านเอสซีอาร์


รูปที่ 3 การทำให้เอสซีอาร์ยุดนำกระแสโดยวิธี Anode Current Interruption

                3.2 ฟอร์ชคอมมูเทชั่น (Forced Commutation)
                                วิธีนี้ทำได้โดยบังคับให้เอสซีอาร์ได้รับไบอัสกลับโดยใช้สวิตช์ขนานกับเอสซีอาร์เป็นตัวควบคุมการหยุดนำกระแสของเอสซีอาร์ดังรูปที่  4  ถ้าสวิตช์เปิดวงจรเอสซีอาร์ยังคงนำกระแสอยู่ แต่ถ้าสวิตช์ปิดวงจรเอสซีอาร์จะหยุดนำกระแส เนื่องจากได้รับไบอัสกลับตลอดเวลาที่สวิตช์ยังคงปิดอยู่ โดยระยะเวลาในการบังคับให้เอสซีอาร์หยุดนำกระแสโดยให้ไบอัสกลับนี้จะต้องนานกว่าระยะเวลา Turn Off Time ซึ่งระบุไว้ในคู่มือ โดยทั่วไปค่าเวลานี้จะน้อยมาก (ประมาณไมโครวินาที)


รูปที่ 4 การทำให้เอสซีอาร์ยุดนำกระแสโดยวิธี Forced Commutation


4. การนำเอสซีอาร์ไปใช้งาน
                เอสซีอาร์สามารถนำไปใช้ในงานอิเล็กทรอนิกส์อย่างกว้างขวางเช่น วงจรเรียงกระแสที่สามารถควบคุมได้ (Control Rectifier) แต่ส่วนมากจะนิยมนำไปใช้ในการควบคุมหลักๆ 2 ประการคือ สภาวะนำกระแสและสภาวะหยุดนำกระแส เพื่อให้เกิดการทำงานและหยุดการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ
                ตัวอย่างการนำเอสซีอาร์ไปใช้งานอย่างง่ายคือ การนำเอสซีอาร์ไปใช้ในการเปิด  ปิดหลอดไฟซึ่งแสดงดังรูปที่ 5



รูปที่ 5 แสดงการนำเอสซีอาร์ไปใช้ในการเปิด  ปิดหลอดไฟ

                ในขณะที่สวิตช์ S1 อยู่ในสภาวะเปิดวงจรเอสซีอาร์จะไม่นำกระแส เพราะว่าไม่มีกระแสไปจุดชนวนที่ขาเกตของเอสซีอาร์ (IG = 0) แรงดันตกคร่อมขาแอโนดและแคโทดมีค่าสูงมาก กระแส IA จึงไม่สามารถไหลผ่านได้ หลอดไฟจึงไม่ติดสว่าง แต่ถ้าทำการสวิตช์ S1 (on) จะมีกระแสไปจุดชนวนที่ขาเกตของเอสซีอาร์ ทำให้เอสซีอาร์เกิดการนำกระแส ทำให้แรงดันที่ตกคร่อมระหว่างขาแอโนดและขาแคโทด ลดลงจนมีค่าต่ำมากมีกระแส IA ไหลเข้าขาแอโนดและออกที่ขาแคโทดได้ครบวงจรเป็นผลให้หลอดไฟติดสว่าง

5. การวัดและทดสอบเอสซีอาร์ด้วยโอห์มมิเตอร์
             การวัดหาขาของเอสซีอาร์โดยใช้โอห์มมิเตอร์ของซันวา ( SUNWA )  รุ่น XZ 300  สายวัดสีแดงจะมีศักย์ไฟฟ้าเป็นลบ (-)   ส่วนสายวัดสีดำจะมีศักย์ไฟฟ้าเป็นบวก (+)  ( มีมิเตอร์บางยี่ห้อสายวัดจะตรงข้ามกัน   คือ  สายสีแดงมีศักย์เป็นบวก   และสายสีดำมีศักย์เป็นลบ )    โดยวิธีการวัดให้ทำการสมมุติตำแหน่งของขาก่อน  คือ  เอสซีอาร์มี 3 ขาหรือ 3ขั้ว    เราก็สมมุติขาเป็นตำแหน่งที่ 1, 2 และ 3  ดังรูปที่ 6  เสร็จแล้วแบ่งเป็น 3 คู่  แล้วทำการวัดดังตารางที่ 1


รูปที่ 6 แสดงการสมมุติตำแหน่งของขาของเอสซีอาร์


คู่ที่

ศักย์ไฟ
ความต้านทาน
บวก ( สายสีดำ )
ลบ ( สายสีแดง )
1

1
2
2
1
2

2
3
3
2
3

1
3
3
1

ค่าความต้านทานต่ำ

ตารางที่ 1 แสดงการวัดหาขาของเอสซีอาร์ด้วยโอห์มมิเตอร์

หมายเหตุ    มัลติมิเตอร์ที่ใช้เป็นของซันวา ( SUNWA ) รุ่น YX -360   มัลติมิเตอร์บางรุ่นสายวัดอาจมีศักย์ไฟไม่เหมือนกัน   ก่อนทำการวัดจึงควรศึกษาให้เข้าใจ


พิจารณาค่าความต้านทานระหว่างขาของเอสซีอาร์จากตารางสรุปได้ว่า
             การวัดเอสซีอาร์ทั้ง 3 ขา  จำนวน 6 ครั้ง    สามารถอ่านค่าความต้านทานได้เพียง 1 ครั้งหรือเรียกว่า “ วัด 6 ครั้ง  เข็มขึ้น 1 ครั้ง  ครั้งที่สามรถอ่านค่าความต้านทานต่ำได้นั้น  ศักย์ไฟบวก ( สายสีดำ )  จับที่ขาใดนั้นเป็นขาเกต   และศักย์ไฟลบ (สายสีแดง )  จับที่ขาใดขานั้นเป็นขาแคโถด    ส่วนขาที่เหลือเป็นขาแอโนด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น